หน้าที่ความรับผิดชอบ อบต
 

อํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.)
อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม
ถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546

1. มีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)

2. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตําบลมีหน้าที่ต้องทําในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล
    ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
    1) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ำและทางบก
    2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
    3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
    4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
    6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรีเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
    7) คุ้มครองดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    8) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
   9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความ
   จําเป็นและสมควร

3. ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตําบลอาจจัดทํากิจกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
    1) ให้มีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
    2) ให้มีการบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
    3) ให้มีการบํารุงรักษาทางระบายน้ํา
    4) ให้มีและบํารุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
    5) ให้มีการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
    6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
    7) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร์
    8) การคุ้มครองดูแล และรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
    9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตําบล
    10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
    11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
    12) การท่องเที่ยว
    13) การผังเมือง

4. การดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ
ในอันที่จะดําเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตําบลต้องแจ้งให้อบต.
ทราบล่วงหน้าตามสมควร หาก อบต. มีความเห็นเกี่ยวกับการดําเนินกิจการดังกล่าว ให้นําความเห็นของ อบต.
ไปประกอบการพิจารณาดําเนินกิจการนี้ด้วย (มาตรา 69)

5. การปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าที่ของ อบต. ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
โดยใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและให้คํานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทํา
แผนพัฒนา อบต. การ จัดทํางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด (มาตรา 69/1)

6. มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่ เกี่ยวกับการดําเนินกิจการ ของทางราชการในตําบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับ การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (มาตรา 70)

7. ออกข้อบัญญัติอบต. เพื่อใช้บังคับในตําบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออํานาจหน้าที่ของ อบต. ในการ นี้จะกําหนดค่าธรรมเนียมที่ จะเรียกเก็บและกําหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กําหนดโทษปรับเกิน 1,000 บาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 71)

8. อาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไปดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติกิจการของ อบต. เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาด จากต้นสังกัดเดิม (มาตรา 72)

9. อาจทํากิจการนอกเขต อบต. หรือร่วมกับสภาตําบล อบต. อบจ. หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทํากิจการร่วมกันได้ (มาตรา 73)
อํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

        

ย้อนกลับ

 
 
 
Visitor  : วันนี้ 831 | เดือนนี้ : 23648 | ปีนี้ : 134415 | รวม : 666944
ที่อยู่ 2 หมู่ 11 ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี